ทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
การนำไปใช้งานพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส มีผู้นำไปประยุกต์ใช้ในวงการศึกษามาก
โดยเฉพาะในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
เพราะทำให้ครูทราบว่าเด็กในวัยต่างๆ นั้น ทำอะไรได้บ้าง
จะจัดการเรียนรู้อย่างไรให้สนองความพร้อมของเด็ก เมือครูทราบว่าเด็กวัยนั้นๆ ควรทำ
อะไรได้บาง สิ่งเหล่านี้มีความจำเป็น อย่างไร
ระดับอนุบาล
1.มีความคิดรวบยอดง่ายๆ เกี่ยวกับความจริงทางสังคมและทางกายภาพ
2.เรียนรู้ที่จะสร้างความผูกพันระหว่างตนเองกับพ่อแม่พี่น้องตลอดจนคนอื่นๆ
3.เรียนรู้ที่จะมองเห็นความแตกต่าง ระหว่างสิ่งที่ผิดที่ถูก
และเริ่มพัฒนา ทางจริยธรรม
1.เรียนรู้ที่จะใช้ทักษะทางด้านร่างกาย
2.สร้างเจตคติต่อตนเองในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิต
3.เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
4.เรียนรู้บทบาทที่เหมาะสมของเพศหญิงและเพศชาย
5.พัฒนาเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยาและค่านิยม
6.สามารถพึ่งพาตนเองได้
7.พัฒนาเจตคติต่อกลุ่มสังคมและต่อสถาบันต่างๆ
8.พัฒนาทักษะพื้นฐานในการอ่าน เขียน และคำนวณ
ระดับมัธยมศึกษา
1.สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและเหมาะสมกับเพื่อนในราวคราวเดียวกัน
2. แสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะสมกับเพศของตน
3. ยอมรับสภาพร่างกายตนเอง
4. รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
5. มีการเตรียมตัวเพื่อการแต่งงานและการมีครอบครัว
6. เริ่มเตรียมตัวที่จะเป็นพลเมืองดี
7. มีความต้องการและรู้จักพัฒนาตนเองให้มีความรับผิดชอบ
8. มีความเข้าใจในเรื่องค่านิยม
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถสังเกตุพัฒนาการต่างๆของเพื่อนๆและคนรอบข้าง เพื่อให้รู้จักนิสัยใจคอมากขึ้น
และใช้เทคโนโลยี สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษาและการสืบค้นหรืออื่นๆได้
ทฤษฎีพัฒนากาของเพียเจท์
ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
เด็กในวัยอนุบาลอยู่ในช่วง ( Preoperation )
เด็กสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆได้ โดยการใช้สัญลักษณ์ การใช้ภาษายังมีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
ยังไม่สามารถเข้าใจได้ว่า คนอื่นๆ จะมีความเห็นต่างกันอย่างไร
ภาษาและความคิดของเด็กวัยนี้จะต่างจากครู ดังนั้น
ครูควรที่จะอธิบายว่า คำพูดที่เด็กพูดนั้นหมายถึงอะไร ในระหว่างวัยนี้ เด็กจะค่อยๆ
มีความสามารถที่จะเริ่มมองเห็นสิ่งของได้มากกว่าหนึ่งสิ่งในเวลาเดียวกัน เด็กจะค่อยๆ เริ่มมี ( Conservation Concept ) ซึ่งความคงตัวที่เด็กสามารถเข้าใจมากที่สุด ก็คือ เกี่ยวกับมวล ดังนั้น
เด็กที่อยู่ในช่วงปลายปี ป. 1 หรือ ป. 2 จะมี Concept เกี่ยวกับเรื่องนี้
ซึ่งทำไห้เด็กในช่วงนี้ สามารถคิดหาเหตุผลและแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้
ซึ่งจะต่างจากวัยอนุบาล ที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับความคงตัว
จึงแก้ปัญหาด้วยการรับรู้ ดังนั้น เพียเจท์ จึงกล่าวว่า ก่อนที่เด็กจะเรียนเลข
จะต้องเข้าใจเกี่ยวกับกฎของ Conservation เสียก่อน
การเรียนเลขมิได้หมายถึงเพียงการนับได้เท่านั้น แต่จะต้องเข้า ( Concept ) ของจำนวน
ระดับประถมปลาย
เด็กวัยนี้สามารถคำนึงถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น และสามารถใช้ภาษาติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้และเขาเชื่อว่าในวัยนี้โดยเฉพาะชั้น ป. 5, ป. 6 เด็กจะเปลี่ยนจากขั้น ( Concrete มาเป็น Formal ) เมื่อเด็กมาถึงขั้น ( Formal) แล้ว เด็กจะสามารถสร้างทฤษฎีและหาข้อสรุป โดยใช้เหตุผลเป็นพื้นฐาน โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์เรื่องนั้นมาก่อน ตลอดจนสามารถแก้ปัญหาที่เป็นนามธรรมได้ สิ่งสำคัญที่ครูจะต้องคำนึง คือ ในช่วงวัยนี้ครูอาจจะต้องทำงานอยู่กับเด็กทั้งสองวัย ซึ่งเด็กวัย ( Concrete) และวัย Formal) มีลักษณะแตกต่างกัน ในเวลาหนึ่งเด็กอาจจะคิดอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้น วิธีที่ดี คือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้อธิบายเกี่ยวกับความคิดนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิ่งที่เป็นนามธรรม ซึ่งจะช่วยให้ครูเข้าใจความคิดต่างๆ ของเด็กได้
ระดับมัธยมศึกษา
ทฤษฎีพัฒนากาของฟรอยด์
1.ความพร้อมจะเกิดขึ้นได้โดยการที่ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็ก
4.ช่วงต่างๆของพัฒนาการไม่ใช่เป็นสิ่งที่บอกว่าเด็กควรอ่าน ควรพูดวิชาต่างๆ ได้แล้วแต่เป็นสิ่งที่ครูจะต้องทำ
5.คิดว่าจะสอนอย่างไรให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
2.ครูควรจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ในช่วง
6 ปีแรก
3.ไม่ต้องรอให้เด็กพร้อมก็เข้าโรงเรียนได้โดยครูเป็นคนจัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดความพร้อมเอง4.ช่วงต่างๆของพัฒนาการไม่ใช่เป็นสิ่งที่บอกว่าเด็กควรอ่าน ควรพูดวิชาต่างๆ ได้แล้วแต่เป็นสิ่งที่ครูจะต้องทำ
5.คิดว่าจะสอนอย่างไรให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
องค์ประกอบที่มีส่วนพัฒนาการทางบุคลิกภาพ
มีดังนี้
1.วุฒิภาวะ ซึ่งหมายถึงขั้นพัฒนาการตามวัย
2. ความคับข้องใจ ที่เกิดจากความสมหวังไม่สมหวัง เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
3. ความคับข้องใจ เนื่องมาจากความขัดแย้งภายใน
4. ความไม่พร้อมของตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านเชาวน์ปัญญา และการขาดประสบการณ์
5. ความวิตกกังวล เนื่องมาจากความกลัว หรือความไม่กล้าของตนเอง
1.วุฒิภาวะ ซึ่งหมายถึงขั้นพัฒนาการตามวัย
2. ความคับข้องใจ ที่เกิดจากความสมหวังไม่สมหวัง เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
3. ความคับข้องใจ เนื่องมาจากความขัดแย้งภายใน
4. ความไม่พร้อมของตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านเชาวน์ปัญญา และการขาดประสบการณ์
5. ความวิตกกังวล เนื่องมาจากความกลัว หรือความไม่กล้าของตนเอง
ฟรอยด์เชื่อว่า ความคับข้องใจ
เป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาการทางบุคลิกภาพ แต่ต้องมีจำนวนพอเหมาะที่จะช่วยพัฒนา Ego
แต่ถ้ามีความคับข้องใจมากเกินไป ก็จะเกิดมีปัญหา
และทำให้เกิดกลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) ซึ่งเป็นวิธีการปรับตัวในระดับจิตไร้สำนึก
กลไกในการป้องกันตัวมักจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของบุคคลปกติทุกวัย
ตั้งแต่อนุบาลจนถึงวัยชรา
ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต-สังคมของอีริคสัน
ระดับอนุบาล
การส่งเสริมให้เกิด Autonomy ในระดับอนุบาล ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ อย่างอิสระ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวมากนัก แต่คอยให้ความช่วยเหลือ แนะนำอยู่ห่างๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดคลางแคลงในความสามารถของตน เพราะถ้าครูไม่คอยดูแล เด็กอาจจะทำในสิ่งที่เกินความสามารถ เกินกำลังของตน ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสงสัย ในความสามารถ สิ่งที่จะตามมา คือ ความไม่มั่นใจในตนเอง
ระดับประถมต้นและประถมปลาย
การส่งเสริมให้เกิด Identity เด็กวัยนี้อาจจะพัฒนาความรู้สึกตำ่ต้อย ความรู้สึกว่าตนเองสู้เพื่อนๆ ไม่ได้โดยง่าย ถ้าครูไม่ทราบวิธีจะช่วยเหลือ สิ่งสำคัญจะต้องระวังสำหรับเด็กวัยนี้ คือ พยายามหลีกเลี่ยงการให้งานทำที่มีการแข่งขัน การเปรียบเทียบระดับความสามารถ เพราะถ้าให้งานประเภทนี้ จะมีเด็กส่วนน้อยเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จและสามารถทำได้ แต่เด็กส่วนใหญ่จะทำไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เด็กพัฒนาความรู้สึกตำ่ต้อย ความรู้สึกสู้เพื่อนไม่ได้ตั้งแต่เข้าเรียน ซึ่งจะมีแนวโนมที่ว่า ตัวเองจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป เพราะเด็กเกิดความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเองในทางลบ ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์เช่นนี้โดยที่พยายามจัดประสบการณ์ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้ โดยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำงานแข่งกับตนเอง ในขณะเดียวกันให้ทุกคนมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ
ระดับมัธยมศึกษา
การส่งเสริมให้เกิด Identity นั้น สิ่งแรกที่จำเป็นต้องพิจารณา คือ เป็นการสมควรหรือไม่ถ้าจะสอนบทบาททางเพศที่เหมาะสมให้กับเด็ก ตั้งแต่อนุบาลหรือชั้นประถม เพื่อให้เด็กสามารถแสวงหาบทบาททางเพศ ( Sexual identity ) ของตนเองได้ การที่จะตัดสินว่าบทาทที่เหมาะสมของแต่ละเพศมีลักษณะเช่นไรนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะเรามักจะเอาลักษณะที่คนทั่วๆไปคิดว่าควรเป็นของแต่ละเพศเข้ามาปนกัน เช่น เพศชายต้องมีลักษณะเป็นผู้นำ เป็นคนหาเงินหรือเป็นคนมีอำนาจ ส่วนเพศหญิงจะมีลักษณะเป็นแม่บ้าน เป็นผู้อำนวยความสุขให้แก่คนในบ้าน หรือเป็นผู้คอยรับใช้ ดังนั้นการพิจารณาบทบาทที่เหมาะสมของเพศชายเป็นอย่างไร เพศหญิงเป็นอย่างไร โดยที่อย่าให้ให้เกิดความรู้สึกตำ่ต้อย กับบทบาททางเพศของตน พยายามให้เด็กเห็นว่า ทั้งเพศหญิงเพศชายล้วนแล้วแต่มีความสามารถที่จะประกอบอาชีพต่างๆ ได้เหมือนๆกัน
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามเเนวคิดของ
เจโรม บรูเนอร์
ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
บรูเนอร์เห็นว่า เด็กวัยอนุบาลอยู่ในลักษณะของการกระทำ เราควรสนองความพึงพอใจให้กับเด็กอย่างทันท่วงทีที่ทำงานแต่ละครั้งเสร็จ นอกจากนี้ ควรมีบรรยากาศของความสนุกสนาน ผ่อนปรนไม่ตึงเครียด และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถต่างๆ เพื่อให้เด็กเกิดความมั่นใจ
ระดับประถมปลาย
บรูเนอร์เน้นคล้ายคลึงกับแนวคิดของปียเจท์ แต่ต่างกันตรงที่ พัฒนาการทางสติปัญญาจะแสดงให้เห็นจากการที่เด็กสามารถเลือกจากตัวเลือกหลายๆตัวเลือก ในเวลาเดียวกัน สามารถแบ่งเวลาและความสนใจได้อย่างเหมาะสมกับตัวเลือกนั้นๆ
ระดับมัธยมศึกษา
การใช้สัญลักษณ์ของเด็กวัยนี้ เป็นไปอย่างกว้างขวางขึ้น ครูมีวิธีให้พัฒนาขึ้นไปอีก โดยกระตุ้นให้ใช้ Discovery approach โดยเน้นความเข้าใจใน Concept และสิ่งที่เป็นนามธรรมต่างๆ
การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
1. ทำตระหนักถึงการจัดวัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสม ในการสอนให้กับเด็กเล็กๆ โดยเฉพาะวัสดุประเภทที่จะกระตุ้นการกระทำและประเภทที่รับรู้ง่าย เพื่อช่วยสร้างภาพในใจ
2. เน้นความสำคัญของผู้เรียน ว่าต้องเป็นผู้ที่มีบทบาท ได้คิดค้นกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ดังนั้น จึงมีการส่งเสริมให้มีการเรียนรูปแบบ Discovery Learning
3. ทำให้เข้าใจความคิดของเด็ก
4. บรูเนอร์มีความเห็นว่า ในการจัดการเรียนการสอนนั้น จะต้องคำนึงถึงทฤษฎี ความรู้ความเข้าใจ ทฤษฎีการสอนจะเน้นระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยที่เน้นให่เห็นว่า พัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจของนักเรียนจะเป็นไปด้วยดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยูกับการจัดสิ่งแวดล้อมของครู
ทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
ห้องเรียนทุกห้องนั้นจำเป็นต้องมีระเบียบ กฎเกณฑ์ที่นักเรียนทุกคนจะต้องทราบและปฏิบัติ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องเรียน ถ้าครูอธิยบายเหตุผลของการมีกฎเกณฑ์และพยายามให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเขียนระเบียบกฎเกณฑ์ของห้องเรียน แทนการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของทางโรงเรียน เพราะเกรงว่าจะถูกทำโทษหรือประพฤติดี เพราะต้องการรางวัล จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนใช้เหตุผลทางจริยธรรมในขั้นสูง นอกจากนี้ ครูจะช่วยพัฒนาทางจริยธรรมของนักเรียนได้ ถ้าครูมีความสัมพันธ์กับนักเรียน ชี้แจงเหตุผลเวลาทำโทษ จะช่วยให้นักเรียนมีสติ มีความรับผิดชอบ ควบคุมความประพฤติของตนเอง ( Self Contro l)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น