ความรู้พื้นฐานจิตวิทยา


จิตวิทยาสำหรับครู

 

จิตวิทยาสําหรับครูเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเพื่อให้ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจความแตกต่างและความต้องการของผู้เรียนในอันที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปสู่แนวทางอันพึงประสงค์ได้โดยผู้สอนควรมีความรู้ ความเข้าใจ  ดังนี้
ความพร้อมของผู้เรียน 

1.ความพร้อมทางด้านร่างกาย ซึ่งหมายถึง ความพร้อมอันเกิดจากความเป็นปกติทางร่างกาย เช่น ไม่อดนอน ไม่หิวโหย ไม่เจ็บป่วย ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป เป็นต้น
2.ความพร้อมทางด้านจิตใจและด้านอารมณ์ เรื่องนี้ครู อาจารย์มีความเกี่ยวข้องมากขึ้นแต่อีกส่วนหนึ่งก็เป็นความรับผิดชอบของนิสิตนักศึกษาอยู่เหมือนเดิม  ส่วนที่เกิดมากจากนิสิตนักศึกษาเอง
3.ความพร้อมทางด้านสติปัญญา หมายถึง การมีพื้นฐานทางวิชาการเพียงพอที่จะเรียนรู้หรือรับรู้สิ่งใหม่ ๆ ทางวิชาการ
หลักการสําคัญของการเรียนรู้
1.ผู้เรียนควรจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ อย่างจริงจัง (Active Participation)
2.ผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้ทีละขั้นทีละตอนจากง่ายไปสู่ยากและจากไม่ซับซ้อนไปสู่รูปที่ซับซ้อน (Gradual approximation)
3.ให้นักเรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับที่เหมาะสมและไม่เนิ่นนานจนเกินไป  (Immediate feedback)
4. การเสริมแรงหรือให้กําลังใจที่เหมาะสม (Appropriate Reinforcement)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปจิตวิทยาสำหรับครูสอน 


             ทฤษฎีพัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระโครงสร้างของร่างกายและอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณ เช่น เด็กที่มีการเจริญเติบโตจะมีน้ำหนัก ส่วนสูงเพิ่มขึ้น เป็นต้น
 

  
             ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน 




               

 

1 ความคิดเห็น: